TC/UB (รหัสเวลา/ยูสเซอร์บิต)

ท่านสามารถบันทึกรหัสเวลา (TC) และยูสเซอร์บิต (UB) เป็นข้อมูลแนบไปกับภาพได้

รหัสเวลาคืออะไร?

รหัสเวลาเป็นฟังก์ชั่นสนับสนุกการตัดต่อภาพขั้นสูง โดยบันทึกข้อมูลชั่วโมง/นาที/วินาที/เฟรมลงบนขัอมูลภาพตามเวลาที่ดำเนินไปขณะบันทึกภาพ

ยูสเซอร์บิตคืออะไร?

ท่านสามารถกำหนดให้บันทึกข้อมูลใดๆ อย่างเช่น วันที่/เวลา/หมายเลขซีนภาพ (ตัวเลขฐานสิบหก 8 หลัก) เป็นยูสเซอร์บิตได้ ยูสเซอร์บิตมีประโยชน์ในกรณีที่ตัดต่อภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกมาจากกล้องหลายตัว

  1. - [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - การตั้งค่าที่ต้องการ

คำอธิบายรายการเมนู

TC/UB Disp:

ตั้งค่าการแสดงผลสำหรับตัวนับ, รหัสเวลาและยูสเซอร์บิต

TC Preset:

ตั้งค่ารหัสเวลา

UB Preset:

ตั้งค่ายูสเซอร์บิต

TC Format: (อุปกรณ์ที่สนับสนุน 1080 60i เท่านั้น)

ตั้งค่าวิธีการบันทึกสำหรับรหัสเวลา

TC Run:

ตั้งค่ารูปแบบการนับเพิ่มสำหรับรหัสเวลา

TC Make:

ตั้งค่ารูปแบบการบันทึกสำหรับรหัสเวลาบนสื่อบันทึก

UB Time Rec:

ตั้งค่าว่าจะบันทึกเวลาเป็นยูสเซอร์บิตหรือไม่

วิธีตั้งค่ารหัสเวลา (TC Preset)

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [TC Preset] - ค่าที่ต้องการ

  • ท่านสามารถตั้งค่ารหัสเวลาภายในช่วงที่กำหนดดังนี้
    • เมื่อเฟรมเรทเป็น 30p หรือ 60p (อุปกรณ์ที่สนับสนุน 1080 60i):

      00:00:00:00 - 23:59:59:29

      เมื่อเฟรมเรทเป็น 25p หรือ 50p (อุปกรณ์ที่สนับสนุน 1080 50i):

      00:00:00:00 - 23:59:59:24

    • เมื่อเฟรมเรทเป็น 24p ท่านสามารถกำหนดตัวเลข 2 หลักสุดท้ายของรหัสเวลาให้มีค่าระหว่าง 0 และ 23 และเป็นพหุคูณของ 4

วิธีรีเซ็ตรหัสเวลา

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [TC Preset] - [รีเซ็ต].

  • ท่านยังสามารถรีเซ็ตรหัสเวลา  (00:00:00:00) ได้โดยเลือก [ตั้งค่า] - [ ตั้งค่าทั่วไป] - [ใช้ค่าเริ่มต้น] หรือโดยใช้รีโมทควบคุมรุ่น RMT-VP1K (แยกจำหน่าย)

วิธีตั้งค่ายูสเซอร์บิต (UB Preset)

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [UB Preset] - ค่าที่ต้องการ

  • ท่านสามารถตั้งค่ายูสเซอร์บิตภายในช่วงที่กำหนดดังนี้
    • 00 00 00 00 - FF FF FF FF

วิธีรีเซ็ตยูสเซอร์บิต

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [UB Preset] - [รีเซ็ต].

  • ท่านยังสามารถยูสเซอร์บิตาได้โดยเลือก [ตั้งค่า] - [ ตั้งค่าทั่วไป] - [ใช้ค่าเริ่มต้น]

เลือกวิธีการบันทึกรหัสเวลา (TC Format)

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [TC Format] - การตั้งค่าที่ต้องการ

  • DF: บันทึกรหัสเวลาโดยชดเชยความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับระยะเวลาที่แท้จริง (วิธีดร็อปเฟรม*)
  • NDF: บันทึกรหัสเวลาโดยไม่ชดเชยความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับระยะเวลาที่แท้จริง (วิธีนอนดร็อปเฟรม)

* เมื่อตั้งค่าเฟรมเรทเป็น 30p หรือ 60p สำหรับระบบสี TV แบบ NTSC รหัสเวลาจะเป็นอัตรา 30 หรือ 60 เฟรมต่อวินาที อย่างไรก็ตาม จะมีความแตกต่างจากเวลาที่แท้จริงเกิดขึ้นระหว่างที่มีการบันทึกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะความถี่เฟรมที่แท้จริงของสัญญาณภาพแบบ NTSC คือ 29.97 เฟรมต่อวินาที ดร็อปเฟรมทำหน้าที่แก้ไขความแตกต่างนี้เพื่อให้รหัสเวลากับเวลาที่แท้จริงมีขนาดเท่ากัน ในวิธีดร็อปเฟรม เฟรม 2 เฟรมแรก (สำหรับ 30p, 4 เฟรมแรกสำหรับ 60p) จะถูกตัดออกทุกๆ ระยะเวลาหนึ่งนาที ยกเว้นที่ระยะเวลาทุกสิบนาที รหัสเวลาที่ไม่มีการแก้ไขดังกล่าวจะเรียกว่า นอนดร็อปเฟรม

เลือกวิธีการเลื่อนรหัสเวลาไปข้างหน้า (TC Run)

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [TC Run] - การตั้งค่าที่ต้องการ

  • Rec Run: เลื่อนรหัสเวลาไปข้างหน้าเมื่อมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหว เลือกใช้การตั้งค่านี้เพื่อบันทึกรหัสเวลาตามลำดับต่อเนื่องจากรหัสเวลาสุดท้ายของการบันทึกครั้งก่อน

    แม้ว่ารหัสเวลาจะเลื่อนไปข้างหน้าในโหมด [Rec Run] รหัสเวลาอาจไม่ได้รับการบันทึกตามลำดับเมื่อมีการถอดเอาสื่อบันทึกออก

  • Free Run: เลื่อนรหัสเวลาไปข้างหน้าโดยไม่ขึ้นกับการทำงานของกล้อง

เลือกวิธีการบันทึกรหัสเวลาลงในสื่อบันทึก (TC Make)

- [ตั้งค่า] - [ TC/UB] - [TC Make] - การตั้งค่าที่ต้องการ

  • Preset: บันทึกรหัสเวลาที่ตั้งขึ้นใหม่ลงในสื่อบันทึก
  • Regenerate: อ่านค่ารหัสเวลาสุดท้ายจากการบันทึกครั้งล่าสุดจากสื่อบันทึกและบันทึกรหัสเวลาใหม่ต่อเนื่องจากรหัสเวลาสุดท้าย

หมายเหตุ

  • ไม่สามารถทำการตั้งค่าสำหรับรหัสเวลา/ยูสเซอร์บิตเมื่อตั้งค่า [โหมดถ่ายภาพ] เป็น [ภาพถ่าย] หรือ [บันทึก ไทม์แลปส์]
  • [TC Run] ของรหัสเวลา/ยูสเซอร์บิตถูกกำหนดเป็น [Rec Run] ระหว่าง [ภาพช้าต่อเนื่อง] หรือ [วงสวิงกอล์ฟ]
  • [TC Format]  ถูกกำหนดเป็น [NDF] (วิธีนอนดร็อปเฟรม) เมื่อตั้งค่า [ เฟรมเรท เป็น [24p]
  • รหัสเวลาหรือยูสเซอร์บิตไม่ถูกบันทึกลงในภาพเคลื่อนไหวแบบ MP4 ที่บันทึกในเวลาเดียวกัน เมื่อตั้งค่า [บันทึกวิดีโอสองทาง]] เป็น [เปิด]